![]() ![]() | ||
---|---|---|
การติดตั้ง Driver ให้กับอุปกรณ์ตาง ๆ ซึ่งหากเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่มีอยู่เป็นแบบรุ่นเก่า ๆ อาจจะไม่ต้องทำอะไรเลยเพราะว่า Windows จะจัดการกับ Driver ต่าง ๆ ให้เรียบร้อยแล้ว หรือที่เรียกกันว่า Plug and Play นั่นแหละ แต่ถ้าหากอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้งานเป็นรุ่นใหม่ ก็ต้องมามำการติดตั้ง Driver ของอุปกรณ์ต่าง ๆ เองเพื่อให้สามารถใช้งานอุปกรณ์เหล่านั้นได้สมบูรณ์ ![]()
Driver ของการ์ดจอ
โดยปกติแล้วหากการ์ดจอเป็นรุ่นใหม่ ๆ และ Windows ไม่รู้จัก จะสามารถแสดงผลได้แค่ระดับต่ำสุดคือ 16 สีที่ 640x480จุด สำหรับตัวอย่างนี้ จะเป็นการ์ดจอ Creative Graphic riva TNT 16M (PCI) ซึ่งต้องลง Driver ของการ์ดจอเอง เริ่มต้นจากหน้าแรกที่ Desktop ของ Windows กดปุ่มเมาส์คลิกขวา เลือกเมนู Properties เพื่อเข้าสู่หน้าของ Display Propertiesจะขึ้นเมนูในส่วนของ Display Properties
![]()
กดเลือกที่ป้าย Setting ที่ช่อง Display จะเห็นว่าการ์ดแสดงผลจะเป็น Standard PCI Graphic Adapter (VGA) คือเป็นแบบมาตราฐานทั่วไป กรณีเช่นนี้ต้องทำการลง Driver ของการ์ดแสดงผลใหม่ก่อน กดเลือกที่ปุ่ม Advanced
![]()
เลือกที่ป้าย Adapter กดที่ Change เพื่อเปลี่ยน Driver ของการ์ดจอใหม่
![]()
กด Next เพื่อทำการติดตั้งต่อไป
![]()
เลือกที่ Search for a better driver . . . กด Next
![]()
สำหรับช่องนี้จะให้ใส่ว่า Driver ที่เราต้องการลงเก็บไว้ที่ไหน ผมเลือกแต่เฉพาะ Specify a location เพื่อระบุ Folder ที่เก็บDriver เอง กดที่ Browse เพื่อเลือก Folder
![]()
ถ้าหากมีการแสดงแบบนี้ขั้นมาเพราะว่า Windows จะทำการ Browse หรือหา Driver จาก Drive A: ก่อน ก็กด Cancel ไปเลย
![]()
เลือก Folder ที่เก็บ Driver ของการ์ดจอและกด OK
![]()
จะกลับมาหน้าแรก กด Next เพื่อติดตั้ง Driver ต่อไป
![]()
กด Next เพื่อทำการติดตั้งต่อไป
![]()
รอจนเครื่องทำการติดตั้ง Driver เสร็จ กด Finish หลังจากนี้ เครื่องจะต้องทำการ Restart ใหม่ก่อน กด Yes เพื่อบูทเครื่องใหม่ หลังจากที่บูทเครื่องใหม่แล้วเราก็จะสามารถใช้งานการ์ดจอได้เต็มความสามารถ หรือจะทำการเปลี่ยนแปลงตั้งค่าของการแสดงผลใหม่โดยกด เมาส์ขวา ที่ Desktop และเลือก Properties เพื่อเข้าหน้าจอ Display Properties เลือกที่ป้ายSetting
![]()
หน้าจออาจจะไม่เหมือนกันนะครับ เอาเป็นว่าตั้งค่าของ colors ให้เป็น High color (16 bit) หรือขนาดอื่น ๆ ที่สามารถใช้งานได้สูงสุด ส่วนที่ช่อง Screen area ก็เลือกที่ 800 by 600 pixels กด Apply (อาจจะตั้งค่าจอเป็นอย่างอื่นก็ได้แล้วแต่ความชอบของแต่ละท่าน)
![]()
ในกรณีที่จอ ไม่สามารถแสดงผลตามที่ตั้งไว้ได้ บางครั้งอาจจะทำให้มองอะไรไม่เห็น หรือไม่รู้เรื่องเลย เมื่อทำการเปลี่ยนแปลงขนาดของหน้าจอ ให้รอ 15 วินาทีโดยไม่ต้องทำอะไร Windows จะตั้งค่ากลับมาเหมือนเดิม ซึ่งจะพบได้ในการใช้จอรุ่นเก่า ๆ และนำมาใช้กับการ์ดจอที่สามารถตั้งได้ละเอียดกว่า
Driver ของอุปกรณ์อื่น ๆ
สำหรับ Driver ของอุปกรณ์อื่น ๆ ในที่นี้ ขออธิบายแนวทางคร่าว ๆ ในการลง Driver ของอุปกรณ์ต่าง ๆ เริ่มจากกดที่Mycomputer และเลือกที่ Control Panel และกดเลือกที่ Add New Hardware
![]()
จะได้เมนู Add New Hardware Wizard กด Next
![]()
ตรงนี้ หากเป็นเครื่องที่ Windows ไม่รู้จักอุปกรณ์ที่มีอยู่จะขึ้นรายการมาให้เลือก Update Driver ถ้าเป็นเช่นนั้นให้ทำการUpdate Driver จนครบหรือจนกระทั่งไม่มีรายการอยู่ใน List นั้น ๆ ขั้นตอนการ Update Driver ก็ทำแบบเดียวกับการลงDriver ของการ์ดจอ แทบจะเรียกได้ว่าขั้นตอนการทำเหมือนกันเกือบทุกอย่าง แตกต่างกันก็เพียงแค่ Folder ที่จัดเก็บ Driverเท่านั้น
การตรวจสอบว่าอุปกรณ์ต่าง ๆ ทำงานได้ถูกต้องหรือไม่
ขั้นตอนสุดท้ายคือตรวจสอบว่าอุปกรณ์ต่าง ๆ ทำงานได้ถูกต้องคือให้เลือก Start >> Settings >> Control Panel
![]()
เลือก System เลือก Device Manager ดูว่ามีเครื่องหมายตกใจอยู่หน้าอุปกรณ์ใด ๆ หรือไม่
![]()
หากพบว่ามีเครื่องหมายตกใจอยู่หน้าอุปกรณ์ใด อาจจะแสดงว่ามีปัญหาของการลง Driver ผิดรุ่นหรือเกิดการไม่เข้ากันของระบบ หรือการชนกันของ IRQ แบบนี้ลองเข้าไปดูในรายละเอียดต่าง ๆ ก่อนอาจจะสามารถแก้ไขได้แต่ถ้าไม่สามารถแก้ไขได้ ก็คงต้องให้ผู้ชำนาญงานมาช่วยดูซะแล้ว ถ้าหากไม่มีเครื่องหมายตกใจอยู่เลยและเครื่องของคุณสามารถทำงานได้อย่างถูกต้อง มีเสียงครบ ก็น่าจะถือว่าคุณสอบผ่านการติดตั้ง Windows 98 แล้ว
![]() |
วันอังคารที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2554
การติดตั้ง Driver อุปกรณ์ต่างๆ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น